MICA
MICA
MBDA MICA (Missile d’interception, de combat et d’autodéfense, “interception, combat and self-defence missile”) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านอากาศยานพิสัยใกล้ถึงกลางแบบอเนกประสงค์ที่ทำงานได้ทุกสภาพอากาศ และเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีประเภทยิงแล้วลืม มันสามารถใช้งานได้ทั้งจากเครื่องบินขับไล่ และทั้งจากฐานยิงภาคพื้นดินและเรือรบ โดยสามารถติดตั้งเข้ากับระบบปล่อยอาวุธแนวนิ่ง (VLS) ได้อย่างรวดเร็ว ติดตั้งมาพร้อมกับระบบควบคุมเวกเตอร์แรงขับ (TVC) มันได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี 1982 โดย Matra การทดสอบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1991 และได้รับการนำเข้าประจำการในปี 1996 เพื่อติดตั้งกับ Rafale และ Mirage 2000 โดยมันเข้ามาแทนที่ Super 530 ในบทบาทของการสกัดกั้น และ Magic II ในบทบาทของการต่อสู้แบบระยะประชิด (Dogfight)
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2007 การปล่อย MICA จากเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถแบบ over-the-shoulder ด้วยการทำลายเป้าหมายที่อยู่ด้านหลังของเครื่อง โดยเป้าหมายถูกกำหนดโดยเครื่องบินลำอื่นและพิกัดถูกส่งผ่าน Link 16
MICA มีสองสายพันธุ์ ได้แก่ MICA RF คือการค้นหาเป้าหมายด้วยการแสวงหาเรดาร์ และ MICA IR คือการค้นหาเป้าหมายด้วยการแสวงหาภาพความร้อน โดยทั้งสองสายพันธุ์ได้รับการออกแบบมาเพื่อกรองมาตรการการตอบโต้เช่น chaff (แผ่นอลูมิเนียมขนาดเล็ก) และ decoy flares (พลุไฟล่อ) ชุดควบคุมเวกเตอร์แรงขับซึ่งติดตั้งกับมอเตอร์จรวดจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับตัวอาวุธปล่อย ทำให้มันมีความสามารถในการล็อคเป้าหลังจากทำการปล่อย (LOAL) ซึ่งหมายความว่ามันมีความสามารถในการเข้าถึงเป้าหมายที่อยู่นอกระยะการแสวงหา โดย MICA IR ที่ติดตั้งกับ Rafale จะให้ภาพ IR แก่ระบบประมวลผลข้อมูลกลางซึ่งทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์เพิ่มเติม นอกจากนี้ MICA ยังสามารถใช้งานเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ได้อีกด้วย สำหรับรุ่นที่ปล่อยจากภาคพื้นดินจะเรียกว่า VL MICA โดยมันจะถูกปล่อยออกจากภาชนะบรรจุทรงกล่องจากฐานปล่อยที่ติดตั้งบนรถบรรทุก และรุ่นสำหรับกองทัพเรือจะเรียงว่า VL MICA-M โดยมันจะถูกปล่อยออกจากระบบปล่อยอาวุธแนวดิ่งที่ติดตั้งกับเรือรบ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2008 เวลา 15:30 น. ที่ CELM, Biscarosse (Landes) อาวุธปล่อยนำวิถีแบบ VL MICA ประสบความสำเร็จในการทดสอบการยิงครั้งสุดท้ายจากการทดสอบ 14 ครั้ง ซึ่งหมายความว่าตอนนี้มันพร้อมสำหรับการผลิตจำนวนมากแล้ว โดยเป้าหมายที่ถูกกำหนดคือโดรนที่บินต่ำเหนือทะเลห่างออกไป 12 กิโลเมตร MICA ซึ่งติดตั้งตัวแสวงหาเรดาร์ก็ยังสามารถล็อคเป้าและยิงมันตกได้
เรือ Corvettes (เรือลาดตระเวนขนาดเล็ก) มันมีขนาดที่เล็กเกินไปที่จะมีระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Aster ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีราคาแพง ดังนั้นมันจึงมีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับการติดตั้ง VL MICA-M ซึ่งมีความสามารถที่คล้ายกับ Aster 15 แต่ไม่มีเครื่องส่งจรวดและการควบคุมเวกเตอร์แบบ PIF-PAF ในขณะที่ VL MICA มีระยะยิงไกลสุด 20 กิโลเมตร ตามที่ผู้ผลิตระบุ ประสิทธิภาพของอากาศพลศาสตร์จะลดลงอย่างมากในระยะดังกล่าว จาก 0 ถึง 7 กิโลเมตร MICA มีความคล่องแคล่วอยู่ที่ 50 G อย่างไรก็ตามเมื่อมันมาถึงระยะ 12 กิโลเมตร แรง G จะลดลงเหลือ 30 G จนกระทั่งสูญเสียพลังงาน
สายพันธุ์
MICA RF
MICA EM
MICA IR
VL MICA RF
VL MICA IR
VL MICA-M RF
VL MICA-M IR
MICA NG - เป็น MICA รุ่นที่สองถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับเป้าหมายประเภทตรวจจับได้ยาก ตัวแสวงหาภาพความร้อนจะใช้เซ็นเซอร์เมทริกซ์ที่ให้ความไวมากขึ้น ตัวแสวงหาคลื่นความถี่วิทยุจะใช้ AESA (Active Electronically Scanned Array)
บทบาท : อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศและอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ถึงกลาง
สัญชาติ : ฝรั่งเศส
ผู้ผลิต : MBDA
เริ่มเข้าประจำการ : 1996
อาวุธปล่อย
ความยาว : 3.1 เมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง : 160 มิลลิเมตร
น้ำหนักอาวุธ : 112 กิโลกรัม
น้ำหนักหัวรบ : 12 กิโลกรัม
กลไกการระเบิด : ระเบิดใกล้ๆ หรือ กระทบโดยตรง
เครื่องยนต์ : มอเตอร์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง
ระยะยิง
- ปล่อยทางอากาศ : 0.5-80 กิโลเมตร
- ปล่อยในแนวตั้ง : 1-20 กิโลเมตร
เพดานยิงสูงสุด : 9,000 เมตร (ปล่อยในแนวตั้ง)
ความเร็ว
- ปล่อยทางอากาศ : Mach 4
- ปล่อยในแนวตั้ง : Mach 3
ระบบนำวิถี
- MICA-EM : Active radar homing
- MICA-IR : Infrared homing
แพลตฟอร์มที่ใช้ในการปล่อย
- เรือรบผิวน้ำ
- ฐานปล่อยภาคพื้นดิน
- Dassault Rafale
- Mirage 2000
- Mirage F1
- F-16E Block 60
ประเทศผู้ใช้งาน
บอตสวานา
- กองทัพบก (VL MICA)
อียิปต์
- กองทัพอากาศ (MICA EM/IR) ใช้ในเครื่องบินขับไล่ Rafale
- กองทัพเรือ (VL MICA-M) ติดตั้งบนเรือคอร์เวตชั้น Gowind
ฝรั่งเศส
- กองทัพอากาศ ใช้ในเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000-5 และ Rafale
- กองทัพเรือ ใช้ในเครื่องบินขับไล่ Rafale M
จอร์เจีย
- กองทัพอากาศ (VL MICA) ใช้งานร่วมกับเรดาร์ GroundMaster 200 และ 400 จาก ThalesRaytheonSystems
กรีซ
- กองทัพอากาศ
อินเดีย
- กองทัพอากาศ
อินโดนีเซีย
- กองทัพเรือ (VL MICA) ติดตั้งบนเรือฟริเกตชั้น Martadinata และเรือคอร์เวตชั้น Bung Tomo
โมร็อกโก
- กองทัพอากาศ
- กองทัพเรือ (VL MICA) ติดตั้งบนเรือคอร์เวต/ฟริเกตชั้น Sigma
โอมาน
- กองทัพเรือ ติดตั้งบนเรือคอร์เวตชั้น Khareef
กาตาร์
- กองทัพอากาศ
ซาอุดีอาระเบีย
- หน่วยป้องกันภัยทางอากาศของกองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติ (VL-MICA)
สิงคโปร์
- กองทัพเรือ (VL MICA-M) ติดตั้งบนเรือปฏิบัติการชายฝั่งชั้น Independence
ไต้หวัน
- กองทัพอากาศ สั่งซื้อชุดแรกจำนวน 960 นัดเพื่อนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบ Mirage 2000-5 ของ ROCAF ต่อมาในปี 2016 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Chung-Shan ได้รับมอบหมายให้ทำการอัพเกรดอาวุธนี้
ไทย
- กองทัพบก (VL MICA) ติดตั้งอยู่ในฐานปล่อยทรงกล่องที่ติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- กองทัพอากาศ
- กองทัพเรือ (VL MICA-M) ติดตั้งบนเรือตรวจการณ์ชั้น Falaj 2
รูปภาพจาก
- wikimedia.org
- thaifighterclub.org
- meretmarine.com
- thaidefense-news.blogspot.com
- Twitter@muh_Alqahtani
- MBDA
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น