สเปนจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ HAWK และ Aspide ให้กับกองทัพยูเครน

 สเปนจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ HAWK และ Aspide ให้กับกองทัพยูเครน

    ตามที่ Emma Helfrich รายงานใน The War Zone สเปนและฝรั่งเศสได้ประกาศว่าพวกเขาจะส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดินให้กับยูเครน ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศสมาชิกของเนโต (NATO) เร่งรีบเพื่อให้ยูเครนมีขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศขั้นสูงที่พวกเขาต้องการเพื่อต่อสู้กับการโจมตีจากอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนและโดรนของรัสเซียในเคียฟและเมืองอื่น ๆ ของยูเครนเมื่อเร็ว ๆ นี้


    ในการแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม Jens Stoltenberg เลขาธิการ NATO ประกาศว่า สเปนจะส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางแบบ HAWK (Homing All the Way Killer) จำนวน 4 ระบบ ไปยังยูเครน รวมถึงยังจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านอากาศยานแบบ Aspide ให้กับยูเครนด้วย ซึ่งทหารยูเครนจำนวน 19 นาย ได้รับการฝึกอบรมตั้งแต่เมื่อต้นเดือนตุลาคม ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ของฝรั่งเศสยังไม่ได้เปิดเผยว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบใดที่ฝรั่งเศสตั้งใจจะส่งไปยังยูเครน แต่สัญญาณทั้งหมดชี้ไปที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้แบบ Crotale


    กระทรวงกลาโหมสเปนได้ยืนยันการส่งมอบระบบ Aspide เป็นครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศสเปนใช้งานอยู่ และคาดว่าทหารของยูเครนจะเสร็จสิ้นหลักสูตรการฝึกอบรมระบบดังกล่าวในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ อาวุธปล่อยนำวิถี Aspide 2000 ของ MBDA คือ อาวุธปล่อยนำวิถีอเนกประสงค์รุ่นอัปเกรดที่ทรงพลังสำหรับการใช้งานในระบบพื้นสู่อากาศ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้รับการปรับปรุงเพื่อให้อาวุธปล่อยสามารถโจมตีเครื่องบินได้ก่อนที่พวกเขาจะสามารถปล่อยอาวุธประเภท stand-off ได้ ด้วยความสามารถที่โดดเด่นในเรื่องของระยะทำให้มันสามารถป้องกันภัยคุกคามทางอากาศได้ทุกประเภทในวงกว้าง อาวุธปล่อยนำวิถี Aspide 2000 ติดตั้งมอเตอร์จรวดแบบขั้นตอนเดียวที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความเร็วของอาวุธปล่อย ด้วยการเร่งความเร็วและระยะยิงที่มีประสิทธิภาพมากถึง 40% เมื่อเทียบกับอาวุธปล่อยนำวิถี Aspide แบบพื้นฐาน ได้มีการรวมเอาคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยทั้งหมดไว้เพื่อปรับปรุงลักษณะการนำทางและประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่มีการกวนอย่างหนักและ ECM


    แม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลสเปนเกี่ยวกับการส่งมอบ HAWK ในการแถลงข่าวที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม แต่ประธานเสนาธิการร่วมของสหรัฐฯ Mark A. Milley ได้กล่าวถึง HAWK โดยเฉพาะว่าได้รับการร้องขอจากยูเครน ปัจจุบันสเปนใช้งาน HAWK อยู่สองประเภท ได้แก่ ระยะที่ 1 และระยะที่ 3 แต่ HAWK ทั้งหมดได้ผ่านโครงการปรับปรุงครั้งสำคัญในปี 1970 ที่ออกแบบระบบใหม่เป็น Improved-Hawk หรือ I-HAWK ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯอ้างถึง


    Raytheon MIM-23 HAWK (Homing All the Way Killer หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "Hawk") เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลางของสหรัฐอเมริกา มันถูกออกแบบให้คล้ายกับ MIM-14 Nike Hercules โดยมีความสามารถในด้านของระยะและระดับความสูง รวมถึงขนาดและน้ำหนักที่เบากว่ามาก ประสิทธิภาพในระดับเพดานต่ำของมันได้รับการปรับปรุงอย่างมากเมื่อเทียบกับ Nike ระบบนำวิถีด้วยเรดาร์แบบใหม่และระบบแสวงหาเรดาร์แบบกึ่งแอ็คทีฟ มันเข้าประจำการกับกองทัพบกสหรัฐฯในปี 1959


    ในปี 1971 ได้มีการปรับปรุงโครงการที่สำคัญในชื่อ Improved Hawk หรือ I-Hawk ซึ่งได้ทำการปรับปรุงตัวอาวุธปล่อยในหลายจุดและแทนที่ระบบเรดาร์ทั้งหมดด้วยโมเดลใหม่ การปรับปรุงยังคงดำเนินต่อไปตลอด 20 ปีข้างหน้า โดยเพิ่ม ECCM ที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งเป็นคุณลักษณะแบบ Home-on-Jam ที่มีศักยภาพ และในปี 1995 หัวรบใหม่ที่ทำให้สามารถต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถีทางยุทธวิธีพิสัยใกล้ได้ ความน่าจะเป็นในการทำลายเป้าหมายในนัดเดียวของระบบเดิมคือ 0.56 I-Hawk ปรับปรุงสิ่งนี้เป็น 0.85


    Hawk ถูกแทนที่ด้วย MIM-104 Patriot มันเข้าประจำการกับกองทัพบกสหรัฐฯภายในปี 1994 ผู้ใช้งานรายสุดท้ายในสหรัฐฯ คือ นาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งใช้งานมาจนถึงปี 2002 และถูกแทนที่ด้วย FIM-92 Stinger อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้แบบพกพา อาวุธปล่อยดังกล่าวยังถูกใช้งานนอกสหรัฐอเมริกาทั้งในยุโรปตะวันตก, ญี่ปุ่น, และอิหร่าน สหรัฐอเมริกาไม่เคยใช้ Hawk ในการต่อสู้ แต่มันถูกใช้งานโดยชาติอื่นหลายครั้ง มีการผลิตตัวอาวุธปล่อยประมาณ 40,000 นัด


ข้อมูลจาก​ Armyrecognition.com

แหล่งรูปภาพ Flickr/Raymond Cunningham

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม