กองทัพยูเครนได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ IRIS-T ระบบแรกจากเยอรมนี
กองทัพยูเครนได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ IRIS-T ระบบแรกจากเยอรมนี
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Boevaya mashina
ตามทวีตที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ 11 ตุลาคม Oleksii Reznikov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครนระบุว่า "ยุคใหม่ของการป้องกันภัยทางอากาศได้เริ่มขึ้นแล้วในยูเครน IRIS-T จากเยอรมนีอยู่ที่นี่แล้ว NASAMS ของสหรัฐฯกำลังมา นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และเราต้องการมากขึ้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่ารัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย มีความจำเป็นที่ชอบธรรมในการปกป้องน่านฟ้าของยูเครนเพื่อช่วยประชาชนของเรา" "และขอขอบคุณเป็นการส่วนตัวสำหรับเพื่อนร่วมงานของผม Christine Lambrecht รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนี สำหรับความร่วมมือของเธอและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนยูเครน เราจะชนะ"
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2022 'Army Recognition' ได้รายงานว่านายกรัฐมนตรี Olaf Scholz ของเยอรมนีประกาศว่า เยอรมนีจะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศแบบ IRIS-T ที่ผลิตในเยอรมนีให้กับยูเครน ซึ่งผลิตโดยบริษัท Diehl Defense ระบบป้องกันภัยทางอากาศ IRIS-T เหล่านี้ผลิตขึ้นสำหรับยูเครนโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงไม่ได้เข้าประจำการในกองทัพเยอรมัน Anka Feldhuzen เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำยูเครนกล่าว กองทัพเยอรมันเองได้รับอาวุธปล่อยนำวิถีประเภท IRIS-T แต่ไม่ใช่ระบบที่ยิงจากภาคพื้นดิน แต่ยิงจากเครื่องบินแบบ Tornado หรือ Eurofighter
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Boevaya mashina |
IRIS-T SLM เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบแสวงหาความร้อนแบบเคลื่อนที่ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อตอบโต้และทำลายเป้าหมายทางอากาศ เช่น เครื่องบิน, เฮลิคอปเตอร์, อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน, อาวุธนำวิถี, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ, จรวดต่อต้านเรดาร์, และจรวดลำกล้องขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อทำลายอากาศยานไร้คนขับในระยะใกล้และระยะกลาง
บริษัท Diehl Defense ของเยอรมนีได้พัฒนา IRIS-T SL ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้งานจากภาคพื้นดินของ IRIS-T อาวุธปล่อยสามารถยิงได้จากสถานีปล่อยอาวุธแนวตั้ง ซึ่งสามารถติดตั้งอยู่บนยานพาหนะต่อสู้แบบล้อยางหรือแบบล้อสายพานได้ IRIS-T SLM เป็นรุ่นพิสัยกลางของ IRIS-T SL อาวุธปล่อยของ IRIS-T SLM มีระยะยิงสูงสุด 40 กิโลเมตร และมีระดับเพดานยิงสูงสุด 20 กิโลเมตร ยานพาหนะบังคับการและควบคุมการยิงใช้ในการวิเคราะห์ภัยคุกคามและส่งคำสั่งยิงไปยังฐานปล่อย ยานพาหนะเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไปยังศูนย์ปฏิบัติการรบ เรดาร์มัลติฟังก์ชั่นสามารถตรวจจับภัยคุกคามทางอากาศได้ในระยะสูงสุด 200 กิโลเมตร แบบ 360° สามารถตรวจจับวัตถุได้มากถึง 500 จุดในเวลาเดียวกัน
ในส่วนของสหรัฐฯได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งมอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ NASAMS จำนวน 2 ระบบ ให้กับยูเครนในอีกไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้า และอีกจำนวน 6 ระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือในระยะยาว
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Matti Blume |
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Matti Blume |
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Boevaya mashina |
แหล่งรูปภาพ Dhiel Defense |
แหล่งรูปภาพ Wikimedia/Matti Blume |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น